เครดิตบูโรคืออะไร

เครดิตบูโร (Credit Bureau) คือ ข้อมูลที่แสดงถึงประวัติในการชำระหนี้สินของบุคคลทั่วไปที่เคยใช้บริการทางด้านการเงินกับสถาบันการเงินหรือบรัทสินเชื่อที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เครดิตบูโรจึงมีไว้เพื่อแสดงถึงสถานะทางประวัติการชำระหนี้ที่ลูกค้าหรือบุคคลนั้นมีอยู่ สถาบันทางการเงินโดยส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับข้อมูลเครดิตบูโรเป็นอย่างมากเพราะสามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมทางการเงินที่ดีของลูกค้าบุคคลนั้น ๆ ได้ และด้วยเหตุนี้เครดิตบูโรจึงเป็นบริการที่ทุกสถาบันการเงินและรวมถึงบริษัทสินเชื่อทั่วประเทศต่างจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงเพื่อให้ทราบและสามารถระบุตัวตนลูกค้าก่อนการอนุมัติวงเงินสินเชื่อหรือบริการทางการเงินประเภทอื่น ๆ

ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลประวัติเครดิตบูโรเป็นการให้บริการภายใต้การดำเนินการของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ซึ่งได้รับรับอนุญาตให้มีการจดจัดตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย 

ข้อมูลเครดิตบูโรมีความสำคัญอย่างไรต่อการใช้ชีวิต

แน่นอนว่าทุกครั้งที่มีการดำเนินการยื่นสมัครบริการทางด้านการเงินหรือขอสินเชื่อกับสถาบันทางการเงินที่ถูกกฎหมายในไทย โดยส่วนใหญ่แล้วสถาบันทางการเงินเหล่านั้นจะใช้ข้อมูลเครดิตบูโรเป็นข้อมูลอ้างอิงและเกณฑ์ในการพิจาณาผลการสมัครควบคู่กับปัจจัยด้านอื่น ๆ  ซึ่งในข้อมูลเครดิตบูโรจะประกอบไปด้วยสถานะเครดิตบูโรในแต่ละหมายเลข ซึ่งแต่ละหมายเลขก็จะแสดงและบ่งบอกถึงประวัติการชำระหนี้ของลูกค้า ว่ามีประวัติการชำระหนี้ตรงเวลาหรือไม่ และมีแนวโน้มในการผิดชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้สินคืนมากน้อยเพียงใด ดังนั้นทุกครั้งที่มีการชำระหนี้สินล่าช้าหรือไม่จ่ายคืนตามระยะเวลาที่กำหนด ข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าทั้งหมดก็จะถูกจัดเก็บไว้ในข้อมูลประวัติเครดิตบูโรโดยตรง เมื่อสถานะเครดิตบูโรของลูกค้าไม่ดีหรือกล่าวคือมีประวัติการชำระหนี้เสียเกิดขึ้น แนวโน้มที่บริการทางด้านการเงินจะได้รับการอนุมัติก็เป็นไปได้ยาก เมื่อเป็นเช่นนี้ลูกค้าหรือบุคคลดังกล่าวก็จะสามารถเข้าถึงบริการทางด้านการเงินได้ยากกว่าเดิมนั่นเอง

ปัจจุบันมีสถาบันทางการเงินจำนวนมากได้นำเครดิตบูโรมาใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาในการอนุมัติวงเงินสินเชื่อและบริการ ไม่ว่าจะเป็น บริการรีไฟแนนซ์รถยนต์, บริการสินเชื่อจากธนาคารหรือบริษัทสินเชื่อ และบริการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นต้น ดังนั้นจึงอาจเรียกได้ว่าเครดิตบูโรเป็นตัวกำหนดที่สำคัญที่จะช่วยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายได้หรือไม่

ค้างชำระหนี้สินเชื่อหรือไม่จ่ายบัตรเครดิตกี่เดือนติดบูโร

แน่นอนว่าการค้างชำระหรือจ่ายหนี้สินที่ไม่ตรงต่อเวลาจะเป็นตัวกำหนดที่ส่งผลให้มีประวัติเครดิตบูโรที่เสียและไม่ดีหรือซึ่งก็คือการติดเครดิตบูโรเกิดขึ้น แต่ช่วงระยะเวลาที่จะบ่งบอกว่าจะต้องค้างชําระกี่เดือนติดเครดิตบูโรนั้น จะเริ่มนับจากการขาดการชำระหนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 90 วัน จากนั้นสถาบันทางการเงินจะเริ่มดำเนินการส่งข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของลูกค้าไปยังศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติเพื่อจัดเก็บข้อมูลเครดิตบูโรของลุกค้ารายนั้นไว้ 

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่ให้บริการสินเชื่อ, บัตรเครดิต, บัตรกดเงินสด หรือบริการที่จากไฟแนนซ์รถ หากมีการค้างชำระและจ่ายหนี้ล่าช้าเกินกว่า 90 วัน ประวัติเครดิตบูโรก็จะเริ่มมีสถานะเสียและไม่น่าเชื่อถือโดยทันที

ต้องติดเครดิตบูโรกี่ปีถึงจะหลุดหรือพ้นสถานะของการมีประวัติทางการเงินเสีย

ก่อนอื่นต้องอธิบายให้เข้าใจก่อนว่าเมื่อการติดสถานะทางเครดิตบูโรเกิดขึ้น การจัดเก็บข้อมูลสถานะของเครดิตบูโรจะมีการแสดงผลอยู่ในระบบเป็นระยะเวลา 3 ปี หรือซึ่งก็คือ 36 เดือน ซึ่งในจำนวน 36 เดือนที่มีประวัติเครดิตบูโรเสียและแสดงผล ทุกสถาบันการเงินจะสามารถเห็นสถานะดังกล่าวของลูกค้าได้โดยตรง และในแต่ละเดือนที่ผ่านไปข้อมูลการติดเครดิตบูโรก็จะค่อย ๆ หายไป ดังนั้นหากถามว่าเครดิตบูโรติดกี่ปีก็สามารถตอบได้เลยว่าติดเครดิตบูโรทั้งสิ้นนาน 3 ปี 

อย่างไรก็ตามปัญหาที่จะตามมากกว่าการติดเครดิตบูโรก็คือการถูกฟ้องร้องในเรื่องของการชำระหนี้ ซึ่งอาจจะต้องเสียทั้งเวลาและเงินในเวลาเดียวกัน ดังนั้นหากเลี่ยงได้ควรเลี่ยงที่จะไม่ติดเครดิตบูโรจึงจะดีกว่า

ทำความรู้จักกับสถานะแต่ละหมายเลขของเครดิตบูโร

การมีประวัติเครดิตบูโรที่เสียนั้นอาจส่งผลถึงขั้นที่ทำให้ไม่สามารถกู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถ และโอกาสอื่น ๆ ทางการเงินได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดกฎของเครดิตบูโรในการชำระหนี้ เรามาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลยว่าสถานะเครดิตบูโรที่สำคัญ ๆ ในแต่แต่ละหมายเลขรหัสมีอะไรกันบ้างดังนี้ 

  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 10 บ่งบอกถึง การชำระหนี้ที่ตรงเวลา ไม่ผิดชำระหนี้และไม่มีหนี้สินค้างชำระ
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 11 บ่งบอกถึง การชำระหนี้สินทั้งหมดที่เคยมีอยู่หรือเคยค้างไว้เป็นเวลานานได้สำเร็จและปิดบัญชีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 12 บ่งบอกถึง การขอพักชำระหนี้ตามเงื่อนไขของสมาชิก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการค้างชำระหนี้
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 13 และ 14 บ่งบอกถึง การขอพักชำระหนี้ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งไม่ก่อให้เกิดการค้างชำระหนี้
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 20 บ่งบอกถึง การค้างชำระหนี้สินเป็นเวลาติดต่อกันเกินกว่า 90 วัน มีแนวโน้มว่าจะเป็นหนี้เสีย
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 21 บ่งบอกถึง การค้างชำระหนี้สินเป็นเวลานานกว่า 90 วัน อันเกิดจากการได้รับผลกระมบจากสถานการณ์อันไม่ปกติ
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 30 บ่งบอกถึง การดำเนินการที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 31 บ่งบอกถึง การอยู่ในช่วงที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 32 บ่งบอกถึง การยกฟ้องคำพิพากษาจากศาลที่เกิดจากการขาดอายุความ
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 40 บ่งบอกถึง กำลังอยู่ในช่วงการชำระค่างวดสินเชื่อเพื่อทำการปิดบัญชี
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 42 บ่งบอกถึง การถูกโอนหรือขายหนี้ที่ค้างชำระ 90 วันไปบริษัทอื่น
  • สถานะเครดิตบูโรหมายเลข 43 บ่งบอกถึง การโอนหรือขายหนี้และหนี้ถูกชำระเสร็จสิ้นทั้งหมดแล้ว

เป็นอย่างไรกันบ้างกับสถานะเครดิตบูโรในแต่ละตัวเลข ท่านใดที่กำลังต้องการเช็คหรือขอเครดิตบูโรก็อย่าลืมตรวจสอบดูว่าเครดิตบูโรของท่านขึ้นสถานะใดบ้าง

ขอตรวจสอบประวัติเครดิตบูโรสามารถขอได้จากช่องทางไหนบ้าง

หลายท่านอาจจะสงสัยว่าข้อมูลเครดิตบูโรเช็คยังไงและหากต้องการอยากจะขอตรวจเครดิตบูโรต้องไปที่ไหน หรือขอเช็คเครดิตบูโรของตันเองได้จากช่องทางไหนบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาแจ้งให้ทราบกัน 

ปัจจุบันช่องทางในการตรวจสอบเครดิตบูโรสามารถทำได้ทั้งหมด 3 ช่องทาง ได้แก่ 

  1. ตรวจเครดิตบูโรผ่านแอพพลิเคชันธนาคาร เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถตรวจสอบประวัติเครดิตบูโรได้ด้วยตนเอง เป็นช่องทางการเช็คเครดิตบูโรผ่านมือถือโดยที่ไม่ต้องเข้าไปติดต่อกับสาขาของธนาคาร เมื่อทำการยื่นขอตรวจสอบเครดิตบูโรแล้ว ทางธนาคารจะดำเนินการจัดส่งเอกสารข้อมูลเครดิตบูโรมาให้ พร้อมทั้งมีการคิดค่าธรรมเนียมในการออกเอกสารและดำเนินการจัดส่งมาให้ตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ ปัจจุบันมีแอพพลิเคชันธนาคารที่เข้าร่วมทั้งสิ้นกว่า 6 ธนาคาร และ 2 แอพพลิเคชัน ได้แก่ 
    • ธนาคารกรุงเทพ – โมบายแบงก์กิ้ง ธนาคารกรุงเทพ
    • ธนาคารเกียรตินาคินภัทร – KKP Mobile
    • ธนาคารกรุงไทย – Krungthai NEXT
    • ธนาคารออมสิน – MyMo
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต – ttb touch
    • ธนาคารกรุงศรีออนไลน์
    • แอพเป๋าตัง
    • แอพ Flash Express

อย่างไรก็ตามการการตรวจข้อมูลเครดิตบูโรผ่านช่องทางแอพพลิเคชั้นจะมีค่าธรรมเนียมในการให้บริการ ดังนั้นช่องทางดังกล่าวจึงไม่ใช่ช่องทางเช็คเครดิตบูโรออนไลน์ฟรี

 

2. ตรวจสอบประวัติเครดิตบูโรที่ศูนย์บริการข้อมูลเครดิตบูโร

  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคาร เดอะไนน์ ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 ให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-16.30 น. (หยุดบริการในวันนักขัตฤกษ์)
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง (ภายในสถานี) ให้บริการตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. (หยุดบริการในวันนักขัตฤกษ์)
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น ให้บริการในวันจันทร์อาทิตย์ เวลา 9.00-15.00 น.

 

3. ตรวจเครดิตบูโรด้วยตนเองผ่านตู้ให้บริการผ่านตู้คีออสพร้อมรับข้อมูลสถานะเครดิตบูโรผ่านทางอีเมลได้เลยในทันที

  • เช็คเครดิตบูโรที่ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร อาคารเดอะไนน์ทาวเวอร์ส แกรนด์ พระรามเก้า ชั้น 2 ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า MRT พระราม 9
  • ตรวจสอบผ่านเครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 หรือเดินทางมาลงที่ BTS สถานีอารีย์ ทางออกหมายเลข 1
  • ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิวนวนคร ชั้น 1
  • ธนาคารเกียรตินาคินภัทรสาขาสำนักงานใหญ่ 
  • อาคารสาธรนครทาวเวอร์ ชั้น 1 โซนตู้เอทีเอ็ม หรือเดินมาลงที่ BTS สถานีช่องนนทรี ทางออกหมายเลข 2 
  • ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย (อาคาร A) ชั้น 2 ตั้งอยู่ที่โถงต้อนรับเยื้องจุดสอบถามของอาคาร



Leave a comment