แบล็คลิสคืออะไร
แบล็คลิส (Blacklist) คือ สถานะประเภทหนึ่งที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่ไม่ดี แต่หากกล่าวถึงสถานะแบล็คลิสต์ทางการเงินในที่มีอยู่ในปัจจุบัน สถาบันทางการเงินหลายแห่งมักให้นิยามคำว่า “แบล็คลิส” (คนละความหมายกับ ‘ประวัติเครดิตบูโร‘) ให้เป็นไปในทิศทางของการมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี ไม่น่าเชื่อถือและมีแนวโน้มที่จะไม่ได้รับการผ่อนชำระหนี้คืนที่ตรงเวลา ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงแบล็คลิสจึงเปรียบเสมือนกับการมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดีมาเกี่ยวข้องอยู่นั่นเอง ซึ่งเมื่อมีการชำระหนี้ที่ไม่ตรงต่อเวลา, ชำระหนี้ล่าช้า และรวมถึงการไม่ชำระหนี้ที่ได้ก่อไว้ รายชื่อของผู้กู้เงินดังกล่าวกจะถูกส่งเข้าไปรับการบันทึกให้มีสถานะของการติดแบล็คลิสตามประเภทของการข้อมูลที่เกิดขึ้น
ติดแบล็คลิสกับติดเครดิตบูโรเหมือนกันไหม
เราได้ทำความเข้าใจกันไปบ้างแล้วว่าแบล็คลิสคืออะไร ต่อไปเรามาทำความเข้าใจกันต่อว่าเครดิตบูโรคืออะไรและสอดคล้องกับแบล็คลิสอย่างไร
เครดิตบูโร คือ สถานะที่บ่งบอกถึงพฤติกรรมทางการเงินประเภทหนึ่งในรายบุคคล ว่าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมทางด้านการเงินเป็นอย่างไร ชำระหนี้สินช้าหรือไม่ มีการค้างชำระหนี้มากน้อยเพียงใดและรวมถึงมีหนี้เสียหรือชำระหนี้สินอยู่ในระดับใดบ้าง ซึ่งข้อมูลเครดิตบูโรนั้นเป็นข้อมูลที่ได้รับการบันทึกจากสถาบันทางการเงินและทำการแจ้งเข้าไปยังศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติถึงพฤติกรรมของลูกหนี้ที่ได้รับ ดังนั้นเมื่อนำข้อมูลของคำว่า “ติดเครดิตบูโร” มาเปรียบเทียบกับคำว่า “ติดแบล็คลิส” จึงอาจมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน เพราะในความเป็นจริงแล้วหากพูดถึงคำว่าแบล็คลิสในปัจจุบัน แบล็คลิคอาจมีนิยามความหมายในหลากหลายมิติที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้วหากพูดถึงในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน แบล็คลิสที่หลายคนเข้าใจมักโยงไปถึงความสัมพันธ์ทางด้านการเงินเป็นส่วนส่วนใหญ่ เช่น เมื่อมีการติดแบล็คลิสเกิดขึ้น ก็อาจหมายถึงบุคคลเหล่านั้นก็อาจมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี ไม่น่าเชื่อถือ และรวมถึงการเบี้ยวหนี้เกิดขึ้น จึงผู้ที่มีรายชื่อติดแบล็คลิสเหล่านั้นสามารถเข้าถึงบริการ สินเชื่อ สินเชื่อบัตรเครดิต หรือสินเชื่อบัตรกดเงินสดได้ยากกว่าผู้ที่มีประวัติใสสะอาด ซึ่งหากจำกัดความตามความหมายเหล่านี้การติดแบล็คลิสต์หรือเครดิตบูโรจึงมีความคล้ายคลึงกันหรืออาจใช้แทนความหมายซึ่งกันและกันได้
ติดแบล็คลิสกี่ปีถึงจะหลุดและติดแบล็คลิสกี่ปีหาย
โดยปกติแล้วประวัติทางการเงินที่เสียไปหรือการติดสถานะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อประวัติทางการเงิน จะถูกจัดอยู่ในฐานข้อมูลเครดิตบูโรหรือที่เรียกว่าติดแบล็คลิสเป็นระยะเวลานานสุด 36 เดือนหรือ 3 ปี (โดยอ้างอิงจากกฎหมายใหม่ติดแบล็คลิส) โดยในแต่ละเดือนข้อมูลต่าง ๆ จะได้รับการจัดเก็บในรูปแบบของบรรทัดที่แสดงผลและสถานะของประวัติโดยมีการบ่งบอกเป็นตัวเลขของสถานะ และเมื่อในแต่ละเดือนผ่านไป ข้อมูลแบล็คลิสก็จะได้รับการอัปเดตโดยจะมีการแทนที่ของบรรทัดใหม่เกิดขึ้น และในขณะเดียวกันข้อมูลเก่า ๆ ที่ได้รับการจัดเก็บไว้ก็จะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลอัปเดตชุดใหม่ ทั้งนี้หากมีการกู้ยืมไว้หลายสถาบันการเงิน ข้อมูลแบล็คลิสที่แสดงไว้ก็อาจมีระยะเวลานานกว่า 3 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้อมูลแบล็คลิสต์ที่อยู่ในระบบจะค่อย ๆ หายไปทีละนิดในแต่ละรอบเดือน แต่ในแง่ของอายุความของคดีที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้หนี้รวมถึงคำสั่งศาลต่าง ๆ อาจมีผลและระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 3 ปี ดังนั้นหากเลี่ยงได้ควรหลีกเหลี่ยงพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดการเสียประวัติทางการเงินหรือมีรายชื่อติดอยู่ในแบล็คลิสจึงจะดีกว่า
ก่อนติดแบล็คลิสก็สามารถหาทางออกร่วมกันได้
แน่นอนว่าก่อนจะมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดีหรือมีแนวโน้มที่จะติดแบล็คลิส ลูกหนี้ก็สามารถหาทางออกเหล่านี้ได้โดยการเจรจาถึงทางออกและวิธีแก้ไขร่วมกันทั้งสองฝ่ายทั้งระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้ เพราะในแง่ของเจ้าหนี้ก็ไม่อยากให้ยอดเงินที่ให้บริการออกไปต้องสูญเสียหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นหนี้เสียเกิดขึ้น และในฝั่งของลูกหนี้ไม่อยากให้ตนเองตกอยู่ภายใต้ของสถานะแบล็คลิสหรือติดบูโร เพราะอาจส่งผลต่อไปในระยะยาว ดังนั้นการแก้ไขอาจต้องดำเนินการตั้งแต่เนิ่น ๆ ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ก่อนที่ข้อมูลการชำระหนี้สินเหล่านั้นจะถูกรายงานไปศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ถึงประวัติในการชำระหนี้ที่เสียจนอาจนำไปสู่ปัญหาของการติดแบล็คลิสเกิดขึ้น ดังนั้นจึงควรเจรจาและหาทางออกร่วมกัน เช่น หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ไหวภายใต้เงื่อนไขสัญญาที่กำหนด ลูกหนี้ก็สามารถขอเจรจาเพื่อพักชำระหนี้หรือดำเนินการตามเงื่อนไขที่ธนาคารได้เสนอและกำหนดไว้ และเมื่อครบระยะเวลาตามที่เงื่อนไขกำหนดแล้ว ก็สามารถกลับมาผ่อนชำระหนี้สินได้ตามปกติ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันปัญหาเรื่องการติดแบล็คลิสได้ในเบื้องต้น
รวม 5 ขั้นตอนการเคลียร์ปัญหาแบล็คลิส
หลายคนอาจเข้าใจว่าเมื่อมีรายชื่อติดแบล็คลิสอาจจะไม่สามารถแก้ไขหรือล้างประวัติที่เสียหายได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว การมีรายชื่ออยู่ในแบล็คลิสนั้นยังสามารถแก้ไขได้ ซึ่งหากท่านใดที่ยังไม่ทราบว่าติดแบล็คลิสแก้ยังไงก็ให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้กันได้เลย
- ตรวจสอบข้อมูลแบล็คลิสของตนเอง
ก่อนอื่นต้องตรวจสอบข้อมูลประวัติแบล็คลิสของตนเองก่อนว่าตนเองมีประวัติในการชำระหนี้เป็นอย่างไร ทั้งนี้การตรวจสอบแบล็คลิสสามารถทำได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการเช็คแบล็คลิสออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร ซึ่งการตรวจสอบผลเครดิตบูโรหรือแบล็คลิสกับแอปพลิเคชันของธนาคารจำเป็นที่จะต้องเสีบค่าธรรมเนียมในการยื่นขอตรวจสอบประวัติ นอกจากนี้ยังสามารถขอตรวจสอบประวัติเครดิตบูโรหรือแบล็คลิสได้ด้วยตนเองโดยสามารถขอตรวจสอบกับจุดให้บริการต่าง ๆ และสำหรับท่านใดที่เข้าใจว่าสามารถเช็คแบล็คลิสออนไลน์ฟรีได้โดยที่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถทำได้
2. หากข้อมูลประวัติแบล็คลิสผิดพลาดควรรีบดำเนินการแก้ไข
แน่นอนว่าประวัติประวัติแบล็คลิสที่ได้รับจากการตรวจสอบ อาจมีประวัติที่ผิดพลาดเกิดขึ้น ดังนั้นหากตรวจสอบแล้วพบว่าข้อมูลประวัติแบล็คลิสผิดพลาด ก็สามารถขอยื่นเรื่องเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ข้อมูลประวัติถูกต้องได้
3. จัดการหนี้ทั้งหมดให้เป็นก้อนเดียวเพื่อง่ายต่อการแก้ไขการติดแบล็คลิส
แน่นอนว่าประวัติทางการเงินที่เสียไป อาจเกิดจากความสามารถในการชำระหนี้ที่ไม่ตรงต่อเวลาและรวมถึงการขาดประสิทธิภาพในการชำระหนี้ที่สม่ำเสมอ ดังนั้นการรวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียวจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกที่สำคัญที่จะช่วยจัดการกับปัญหาหนี้สินต่าง ๆ ที่ไม่สามารถชำระไหว ดังนั้นการรวบหนี้ให้เป็นก้อนเดียวจึงเป็นวิธีที่จะช่วยจัดการกับยอดวงเงินคงค้างได้ดีกว่าการชำระหนี้แบบกระจาย โดยในปัจจุบันได้มีโครงการแก้หนี้เกิดขึ้นเพื่อจัดการกับปัญหาของการเป็นหนี้สินที่ไม่สามารถผ่อนชำระไหว
4. วางแผนการชำระหนี้เสียและชำระหนี้ให้ตรงเวลา
เมื่อมีหนี้เสียเกิดขึ้นและได้มีการรวบรวมหนี้ให้กลายเป็นก้อนเดียวแล้ว สิ่งที่เหลือก็คือการชำระหนี้เสียที่ค้างชำระอยู่ โดยอาจต้องวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นการทำบัญชีรายรับ-จ่าย เพื่อตรวจสอบเงินที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และบริหารเงินออกมาอีกหนึ่งส่วนเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดขึ้น เพราะแน่นอนว่าเมื่อมีการชำระหนี้มีการเข้าร่วมโครงการแก้หนี้โดยมีการรวมหนี้สินให้เป็นก้อนเดียวแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะลดลงอีกเป็นจำนวนมาก จึงมีส่วนให้การผ่อนชำระสามารถทำได้ไหว
5. สร้างสถานะเครดิตบูโรใหม่เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียที่ได้รับจากการการติดแบล็คลิส
การชำระหนี้สินที่ตรงเวลาตามที่กำหนดจะเป็นการช่วยเสริมสร้างประวัติทางการเงินที่เสียไปให้กลับมาดีได้ใหม่อีกครั้ง เพราะแน่นอนว่าหากยังคงมีประวัติการชำระเงินที่เสียอยู่ แม้ว่าจะเคลียร์หนี้สินทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้ว แต่สถาบันทางการเงินก็อาจมองว่าไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ จึงอาจส่งผลเสียให้การขอสินเชื่อในอนาคตมีแนวโน้มที่จะผ่านการอนุมัติได้ยาก
หากมีรายชื่ออยู่ในแบล็คลิสมีโอกาสในการขอสินเชื่อได้อีกไหม
ก่อนอื่นต้องขออธิบายให้เข้าใจก่อนว่า สถาบันทางการเงินอย่างธนาคารหรือบริษัทสินเชื่อโดยส่วนใหญ่ มักมีเกณฑ์และรูปแบบในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าสถาบันการเงินเหล่านั้นได้นำปัจจัยในด้านใดมาเป็นเกณฑ์ในการประกอบการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อบ้าง ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้อาจหมายความว่า ต่อให้ผู้กู้มีรายชื่อติดแบล็คลิสแล้วก็ตามแต่ปัจจัยเหล่านี้ก็อาจไม่ได้ส่งผลโดยตรงให้สถาบันการเงินไม่ดำเนินการอนุมัติสินเชื่อให้กับผู้กู้ เพราะการติดแบล็คลิสไม่ได้เป็นการนำรายชื่อของผู้ที่มีประวัติทางการชำระเงินที่ไม่ดีมาจัดเก็บไว้ แต่เป็นการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประวัติทางการชำระเงินนั่นเอง นี่จึงอาจเป็นส่วนที่หลายมักเข้าใจผิดว่าหากมีรายชื่อติดแบล็คลิสแล้ว ก็จะไม่สามารถขอสินเชื่อหรือผ่านการอนุมัติสินเชื่อได้ ดังนั้นแบล็คลิสจึงเป็นสิ่งที่หลายคนเข้าใจผิดว่าหากมีประวัติทางการชำระหนี้ที่ไม่ดีก็จะไม่สามารถขอสินเชื่อได้อีก
ต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ให้มีรายชื่อขึ้นบัญชีดำของแบล็คลิส
สำหรับพฤติกรรมที่จะเป็นตัวกำหนดไม่ให้มีรายชื่อติดแบล็คลิสนั้น สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- มีการชำระหนี้สินที่ตรวจต่อเวลาตามเงื่อนไขของสินเชื่อหรือบริการด้านการเงินที่ใช้บริการอยู่
- ไม่ผิดนัดชำระหนี้สินหรือจ่ายหนี้สินล่าช้า เพราะการชำระหนี้สินที่ล่าช้าเกินกว่ากำหนดจะทำให้สถาบันการเงินดำเนินการจัดเก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อไปยังศูนย์ข้อมูลเครดิตบูโรแห่งชาติ จึงทำให้ข้อมูลผู้กู้เหล่านี้มีสถานะแบล็คลิสเกิดขึ้น
- กรณีที่ต้องมีการจ่ายหนี้สินล่าช้าเกิดขึ้น จำเป็นที่จะต้องชี้แจงให้กับทางสถาบันทางการเงินทราบ เพื่อทราบถึงเหตุผลที่ไม่อาจชำระเงินได้ตรงต่อเวลา
- หากไม่สามารถผ่อนชำระหนี้สินไหว ควรเจรจากับสถาบันทางการเงินเพื่อหาทางออกรวมกันและไม่ก่อให้เกิดการบันทึกประวัติแบล็คลิสที่เสียหาย
มีที่ไหนสามารถขอตรวจสอบแบล็คลิสแล้วรอรับผลได้เลยบ้าง
ปัจจุบันสำหรับปี 2567 หรือ 2024 สามารถตรวจสอบข้อมูลแบล็คลิสของตนเองได้ทั้งหมดตามจุดให้บริการ ซึ่งมีด้วยกันทั้งสิน 6 จุดบริการ
- สำนักงานใหญ่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น.)
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (เฉพาะวันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-18.00 น.)
- อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก (เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น.)
- สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดง (เฉพาะวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-18.00 น.
- เคาน์เตอร์ธนาคารยูโอบี ทั้งหมด 4 สาขา 1. เซ็นทรัลพลาซ่า 2. เซ็น 3. ทรัลเวสต์เกต 4. เซ็นทรัลบางใหญ่ และเดอะมอลล์ท่าพระ (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น.)
- ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 (เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 09.00-18.00 น.)
จุดการให้บริการทั้ง 6 จุดนี้สามารถขอตรวจสอบประวัติแบล็คลิสและรอรับผลได้เลยในทันที