หน้าแรก | กิจกรรมร่วม

ไข้หวัดนก
นับแต่ปี 2546 มหันตภัยจากโรค
ไข้หวัดนกได้ส่งผลกระทบต่อเหล่า
สัตว์ปีกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่ประเทศ
เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา
อินโดนีเซีย และประเทศจีน

หน่วยงานสหประชาชาติในไทย
หน่วยงานของ UN 24 หน่วยงาน
กำลังปฎิบัติงานอยู่ในประเทศไทย
ติดต่อและค้นหาหน่วยงานต่างได้ที่นี่
ลิงค์ที่มีประโยชน์
องค์การสหประชาชาติ
ระบบ/โครงสร้างองค์การสหประชาชาติ
UN Millennium Summit
ESA
ข้อมูลสถิติ
ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
 
 
กิจกรรมร่วม
โครงการร่วม
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
ทีมงานองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNCT) ร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในการจัดทำรายงานเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษของประเทศไทย พ.ศ. 2547 เป็นฉบับแรก ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2547 รายงานสรุปความก้าวหน้าเฉพาะด้านในการบรรลุ MDGs รวมทั้งชี้ชัดความท้าทายที่เผชิญอย่างต่อเนื่องและกำหนดเป้าหมาย MDG Plus การเข้าไปพัวพันของ UNCT มีความสำคัญอย่างยิ่งกับกระบวนการนี้ การมีส่วนร่วมนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรที่สร้างสรรค์ระหว่างคณะกรรมการการพัฒนาของไทย UNDP และธนาคารโลก ซึ่งให้คำชี้แนะและเงินทุนค่อนข้างมากเพื่อสนับสนุนกระบวนการปรับใช้และการจัดทำรายงาน UNCT ลงทุนทั้งเวลาของพนักงานและเงินทุนมากมายในกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงาน MDG สมาชิกของ UNCT เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกลุ่มคลัสเตอร์ MDG ด้วยการแบ่งปันความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องข้อมูลที่มีความสลับซับซ้อน และคำแนะนำสำหรับการวิเคราะห์นโยบายและการเรียบเรียงถ้อยคำในนโยบาย ขณะเดียวกัน หน่วยงานของ UNCT ปฏิบัติงานต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือไทยในส่วนของโครงการและแผนงานที่นำไปสู่การบรรลุ MDGs นอกจากนั้น หลายหน่วยงานยังได้ขยายขอบเขตของการวิเคราะห์นโยบายและการส่งเสริมนโยบาย เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐบาลที่เกี่ยวโยงกับวาระ MDG ‘Plus’ ขณะนี้รายงาน MDG และเป้าหมาย MDG ‘Plus’ กำลังวางรากฐานกรอบการทำงานทั่วไปสำหรับงานการพัฒนาของสหประชาชาติทั้งหมดในไทยในอนาคต รายงานฉบับที่สองซึ่งให้ความสำคัญกับจุดมุ่งหมายเดียวหรือ MDG 8 ได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2548 ด้วยการตีพิมพ์และเผยแพร่รายงานร่วมกันของกระทรวงการต่างประเทศและ UNCT ไทยจะเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางประเทศแรกที่จัดพิมพ์รายงานเกี่ยวกับการมีส่วนสนับสนุนการบรรลุเป้าหมาย 8 ประการพร้อมกับประเทศกลุ่ม OECD หลายประเทศ รายงานแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่ไทยช่วยส่งเสริม MDGs นอกเขตแดนของตนผ่านความร่วมมือการพัฒนาภูมิภาคใต้-ใต้ ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยตรง เปิดตลาดให้กับประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และสร้างเครือข่ายพันธมิตรผ่านความร่วมมือทั้งระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยยังแบ่งปันเคล็ดลับความสำเร็จและประสบการณ์มากมายจากประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย MDGs


รายงานฉบับที่สาม ซึ่งครอบคลุม MDG 3 ที่ส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ ได้รับการเผยแพร่ราวปลายปี 2548 เพื่อช่วยขยายขอบเขตของโครงการให้เข้าถึงกลุ่มต่างๆ มากขึ้น

ในเวลาเดียวกัน รัฐบาล UNCT และพันธมิตรต่างๆ ได้ตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นกิจกรรมการวางแผนการพัฒนาสำหรับจังหวัดยากจนที่สุดและจังหวัดที่ได้รับคัดเลือกซึ่งรั้งท้ายในการพัฒนา มีสองจังหวัดคือ แม่ฮ่องสอนที่อยู่เหนือสุด และนครพนมที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นจังหวัดยากจนที่สุดของไทย ได้รับคัดเลือกเข้ามาในโครงการนำร่องโดยยึดตามกรอบการพัฒนาของ MDG


นอกจากนั้น ยังมีการสร้างเครือข่ายพันธมิตรระหว่างสำนักงานสถิติแห่งชาติ, UNDP, UNICEF และธนาคารโลก เพื่อสนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการปรับปรุงระบบข้อมูลสถิติและการจัดทำฐานข้อมูลรวมและข้อมูลจำแนกกลุ่มย่อย


เอชไอวี/เอดส์

งานของทีมประเทศไทยทางด้านเอชไอวี/เอดส์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากทีมงานของสำนักงานเลขาธิการ UNAIDS ที่ตั้งอยู่ในสำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศ เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการวางแผน การออกแบบโครงการ และการดำเนินโครงการร่วมกันโดยระบบสหประชาชาติและการร่วมแรงร่วมใจของภาคประชาชนและพันธมิตรประชาสังคมของไทยเพื่อส่งเสริมกรอบ ‘Three Ones’ ต่อไป ซึ่งกรอบนี้สำคัญยิ่งในการตอบสนองระดับชาติที่มีประสิทธิผลต่อเอชไอวี/เอดส์ รวมทั้งการบรรลุเป้าหมายของ MDG ‘Plus’ ที่เกี่ยวพันกับการลดอัตราความชุกของเชื้อเอชไอวีในกลุ่มผู้ใหญ่ในวัยเจริญพันธุ์ให้เหลือเพียง 1%


กรอบ ‘Three Ones’


หมายถึงกรอบการดำเนินงานที่นำโดย UNAIDS เพื่อขับเคลื่อนการประสานงานและการผสานการทำงานกันอย่างกลมกลืนในระดับสูงของภาคีและโครงการ เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบสนองที่ซ้ำซ้อนและไม่ยั่งยืน ฉันทามติทำให้หลักการต่อไปนี้ได้รับการยึดถือปฏิบัติโดยผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มในการตอบสนองกับปัญหาเอดส์ในระดับชาติ

‘One’ ภาคีเห็นพ้องกับกรอบการปฏิบัติงานสำหรับเอดส์ที่ใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการประสานงานของภาคีทุกกลุ่ม

‘One’ หน่วยงานประสานงานเอดส์ระดับชาติหนึ่งเดียวมีอาณัติที่ครอบคลุมหลายภาคส่วน

‘One’ ภาคีเห็นพ้องกับระบบการติดตามตรวจสอบและประเมินผลระดับประเทศ


MDG 6 เกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์เป็นเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษแรกที่ได้รับการคัดเลือกจาก UNCT ประจำประเทศไทยให้มีการส่งเสริมและการออกแบบโครงการร่วมกัน เนื่องจากไทยประสบความสำเร็จในการยับยั้งการแพร่กระจายของการติดเชื้อเอชไอวีอย่างมีนัยสำคัญในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ในเวลาเดียวกัน UNCT ก็ตระหนักถึงความเสี่ยงที่ไทยอาจตกบ่วงความพอใจจากผลงานในอดีตและการนิ่งเฉย (โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการแทรกแซงการป้องกัน) ขณะที่อัตรา STI กำลังเริ่มชี้ให้เห็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน แน่นอน การคัดเลือกให้ไทยเป็นเจ้าภาพงานประชุมเอดส์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2547 นับว่าเป็นโอกาสที่วิเศษสุดสำหรับการนำเสนอประเด็นความท้าทายในปัจจุบันและการดำเนินงานที่จะตามมาเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้</</p>

รายงานเจาะลึกหัวข้อการพัฒนา MDGs


กลุ่มเฉพาะเรื่อง (theme group) ของสหประชาชาติเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ UNDP และสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ ซึ่งเป็นสถาบันที่ปรึกษาอิสระในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำรายงานเจาะลึกหัวข้อการพัฒนา MDG สำหรับ MDG 6 โดยมีเนื้อหาบางส่วนจากผลงานของกลุ่มคลัสเตอร์สุขภาพ MDG รายงานชื่อ “การตอบสนองของประเทศไทยต่อเอชไอวี/เอดส์ – ความคืบหน้าและความท้าทาย” ได้รับการเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2547 หลังจากการออกเผยแพร่ของรายงาน MDG แห่งชาติ 10 วัน



พร้อมกันนั้น UNCT ได้ให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือกับภาคประชาชนและภาคีประชาสังคม อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสนับสนุนการดำเนินการของสหประชาชาติสำหรับเอชไอวี/เอดส์ ด้วยแนวคิดพื้นฐานที่มุ่งเน้นการแทรกแซงเพื่อเร่งปฏิกิริยาที่ออกแบบเพื่อสาธิตประสิทธิผลของกิจกรรมการป้องกัน การดูแล และการสนับสนุนที่จำเป็นทั่วประเทศ


การค้ามนุษย์

โครงการความร่วมมือหลายหน่วยงานว่าด้วยการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแห่งสหประชาชาติ (UNIAP) ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้มีการตอบสนองที่มีการประสานงานกันอย่างเข้มแข็งและกลมกลืนมากขึ้นต่อปัญหาการค้ามนุษย์ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ด้วยเครือข่ายการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมในวงกว้างอันประกอบด้วยรัฐบาล องค์การพัฒนาเอกชน องค์การของสหประชาชาติ และผู้บริจาคต่างๆ โครงการนี้เริ่มดำเนินการตามแผนงานระยะที่สองในปี 2547 สำนักงาน UNIAP ในไทย ซึ่งดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลและแนวทางปฏิบัติจากผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศ เน้นการตอบสนองต่อประเด็นนี้ในระดับชาติ ขณะเดียวกัน ก็ได้รับประโยชน์จากขอบข่ายระดับภูมิภาคของโครงการ และทำงานร่วมกับหน่วยงานสหประชาชาติ ได้แก่ ILO, IOM, OHCHR, UNAIDS, UNODC, UNESCO, UNFPA, UNHCR, UNICEF, UNFEM, UNDP และ UNESCAP รวมทั้งรัฐบาลและภาคีประชาสังคม
เช่นเดียวกับโครงการร่วม UNAIDS โครงการ UNIAP ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระบบสหประชาชาติ ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน จัดระเบียบค่าใช้จ่ายของหน่วยงานและการปฏิบัติของผู้บริจาคให้กลมกลืนกันในส่วนที่พัวพันกับปัญหาระดับชาติที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โครงการเหล่านี้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการทำงานร่วมกันระหว่างสหประชาชาติ หน่วยราชการที่เป็นพันธมิตร และประชาสังคม เพื่อสนับสนุนนโยบายระดับประเทศที่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน และทำให้แน่ใจว่าความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมาย MDGs อย่างแน่วแน่


เสาหลักของภารกิจของ UNIAP คือ

สนับสนุนกระบวนการนโยบายระดับชาติ
การส่งเสริม การสื่อสาร และการรณรงค์ร่วมกัน
การติดตามตรวจสอบและการรายงาน
การสนับสนุนในระดับปฏิบัติการ
Mobility and HIV Vulnerability

The vulnerability of migrants and mobile populations is included and highlighted as a priority in many national strategies on HIV and AIDS, the response to date however has been limited. Mobile and migrant populations are a diverse and particularly difficult group to reach. Specific and proactive responses must address their particular rights and needs. This in turn requires commitment, innovation, coordination at regional and national level, and dialogue to set practical priorities and responses.

The United Nations Regional Task Force on Mobility and HIV Vulnerability Reduction (UNRTF) brings together different stakeholders. These include governments, NGOs, migrant networks, donors, UN and other multilateral organisations, people living with HIV, and researchers. These partners work to develop more effective responses to the challenges of HIV vulnerability associated with mobility in South-East Asia and the southern provinces of China.

The Mandate of the Task Force is:

“To identify priorities and gaps and facilitates programmatic, policy, and advocacy actions to reduce mobility-related HIV vulnerability and address issues of care and support in the region ”